ในระบบเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม การปรับ alignment หรือการตั้งศูนย์เพลาถือเป็นหัวใจสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม ความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยระหว่างเพลาส่งกำลัง เช่น มอเตอร์กับปั๊มหรือเกียร์ สามารถนำไปสู่ความเสียหายที่ใหญ่โต ไม่ว่าจะเป็นแบริ่งสึกหรอเร็วกว่าปกติ ซีลรั่ว เพลางอ หรือแม้แต่การหยุดเครื่องโดยไม่คาดคิด ซึ่งอาจทำให้สูญเสียต้นทุนการผลิตมหาศาล การตั้งศูนย์เพลา (Shaft Alignment) คืออะไร? การตั้งศูนย์เพลา คือการปรับตำแหน่งของเพลาทั้งสองฝั่งให้ตรงแนวกันในทุกระนาบ ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อให้การส่งกำลังมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดแรงเค้นที่ไม่พึงประสงค์ ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในระยะยาว ผลกระทบจากการ ปรับ Alignment ที่ไม่แม่นยำ หากเราตั้ง ปรับ Alignment ไม่แม่นยำ จะทำให้เกิดแรงเค้น (stress) และแรงบิดที่ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เกิดปัญหาตามมา แบริ่งสึกหรอเร็วผิดปกติ ปัญหา: เมื่อเพลาทั้งสองไม่อยู่ในแนวเดียวกันอย่างแม่นยำ แรงเค้นและแรงบิดที่ผิดปกติจะส่งถ่ายมายังแบริ่งโดยตรงผลกระทบ: แบริ่งจะรับภาระที่ไม่สมดุล เกิดการสึกหรอเร็วกว่าปกติ ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนแบริ่งบ่อยครั้งต้นทุน: เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านอะไหล่และแรงงาน รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเกิด downtime หากแบริ่งเสียหายระหว่างการผลิต ซีลรั่วหรือแตก ปัญหา: แรงสั่นสะเทือนและการเบี้ยวของเพลาส่งผลโดยตรงต่อซีลที่ทำหน้าที่กันของเหลวหรือสารหล่อลื่นผลกระทบ: ซีลที่เสียหายจะทำให้เกิดการรั่วของน้ำมันหรือสารหล่อลื่น ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียหายของชิ้นส่วนภายในต้นทุน: เพิ่มค่าบำรุงรักษา และในบางกรณีอาจทำให้เครื่องจักรต้องหยุดทำงานเพื่อเปลี่ยนซีลหรือล้างระบบ เพลาหักหรือโค้งงอ […]
เครื่องบาลานซ์ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้การทำงานของระบบหมุนในเครื่องจักรเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย หลายโรงงานอาจมองข้ามความสำคัญของ การบาลานซ์ชิ้นงาน จนเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในระยะยาว เช่น: การสั่นสะเทือนผิดปกติระหว่างทำงาน แบริ่งเสียก่อนอายุการใช้งาน ความเสียหายของเพลา โครงสร้าง หรือฐานเครื่อง เครื่องจักรทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ในบางกรณีอาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุหลักจาก “ชิ้นงานหมุนที่ไม่ได้ผ่าน การบาลานซ์ชิ้นงาน อย่างถูกต้อง” การบาลานซ์ชิ้นงาน หรือ Balancing คืออะไร? การบาลานซ์ชิ้นงาน (Balancing) คือกระบวนการปรับสมดุลมวลของชิ้นส่วนหมุน ให้จุดศูนย์ถ่วงของมวลอยู่บนแกนหมุนพอดี เพื่อลดแรงเหวี่ยงและแรงสั่นสะเทือนระหว่างการทำงาน ซึ่งเป็นหัวใจของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นพัดลม มอเตอร์ ปั๊ม หรือโรเตอร์ขนาดใหญ่ เครื่องบาลานซ์หรือ Balancing Machine คือหัวใจของงานอุตสาหกรรมหมุน เครื่องบาลานซ์ (Balancing Machine) ช่วยลดต้นทุนในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน เพราะการ บาลานซ์ชิ้นงาน เป็นการลงทุนเชิงป้องกันที่ช่วยลดความเสียหาย ลดเวลาหยุดเครื่อง และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์หมุนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้: 1. การบาลานซ์ชิ้นงาน ลดค่าใช้จ่ายจากความเสียหายของเครื่องจักร การหมุนที่ไม่สมดุลทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การใช้เครื่องบาลานซ์จะช่วยจัดสมดุลให้ชิ้นงานหมุน ลดแรงเหวี่ยง ลดการสั่นสะเทือน […]
การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร คือหนึ่งในสัญญาณเตือนที่สำคัญที่สุดของความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในระบบเครื่องกล ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก หากมองข้ามปัญหาการสั่นสะเทือน อาจนำไปสู่ความเสียหายของอุปกรณ์ ต้นทุนซ่อมที่สูง และการหยุดชะงักของกระบวนการผลิตที่ไม่ควรเกิดขึ้น ด้วยเพราะเครื่องจักรที่ทำงานในโรงงาน มันมีอายุการใช้งานของมัน เมื่อถึงเวลามันก็เริ่มจะเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ จนไปถึงเกิดอาการใช้งานไม่ได้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “พัง” นั่นเอง การพังไม่ใช่เรื่องดี เพราะเท่ากับว่า โรงงานไม่สามารถผลิตสินค้าได้ และเรื่องแย่ต่างๆก็จะตามมา ไม่ว่าจะเป็น ขายของไม่ได้ เงินไม่เข้าบริษัท หัวหน้าและลูกค้าด่า (หลาย ๆ คน คงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้แน่นอน) ฯลฯ ทำไมต้องเข้าใจสาเหตุของแรงสั่นสะเทือนในเครื่องจักร? ในระบบการผลิต เครื่องจักรทำงานตลอดเวลาเพื่อสร้างผลผลิต แต่แรงสั่นสะเทือนที่ผิดปกติอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของปัญหาใหญ่ เช่น แบริ่งเสียหายเร็วกว่าปกติ เพลาหลวม หรือเกิดการ Unbalance ขันน็อตไม่แน่น หรือมีความคลาดเคลื่อนจากการตั้งศูนย์เพลา (Misalignment) หากไม่มีการวัดและวิเคราะห์สาเหตุเหล่านี้ด้วย การวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องมือ ที่เหมาะสม เครื่องจักรอาจหยุดทำงานกะทันหัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตและความน่าเชื่อถือของโรงงานในระยะยาว Preventive Maintenance ยังไม่พอ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) แม้จะเป็นแนวทางที่ดี แต่ก็อาจนำไปสู่การซ่อมบำรุงโดยไม่จำเป็น ซึ่งนอกจากจะทำให้ต้องหยุดการผลิตชั่วคราวแล้ว […]